วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Logbook Teacher , หลักเกณฑ์ ว21 ว22 /2560 , PLC , หลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง และ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง






Logbook Teacher 
 หลักเกณฑ์ ว21/2560 
 หลักเกณฑ์ ว22/2560  
ชุมชนและการสื่อสาร 
 PLC 
 หลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรอง  
เอกสารสำหรับประกอบการประชุมปรับปรุงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 (การประชุมที่โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ)
 เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง



อ้างอิง/แหล่งที่มา/ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม
https://logbook-teacher.otepc.go.th/


"KM คืออะไร"


"KM คืออะไร" 
********************************************************************
นายคมกฤษณ์  สุขะวิพัฒน์ 
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management” 
          Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กร ไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลความรู้ คืออะไร

ID PLAN การวางแผนการปฏิบัติงาน

ID PLAN การวางแผนการปฏิบัติงาน
ID PLAN คืออะไร 
********************************************************************
นายคมกฤษณ์  สุขะวิพัฒน์ 
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************
ID Plan คืออะไร ID Plan ย่อมาจาก Individual  Development  Plan)  
ID Plan มีไว้เพื่ออะไร = แผนพัฒนาตนเองรายบุคคล  โดยยึดหลักการประเมินสมรรถนะ (Competency Based  Approach) จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถรู้จุดเด่น  จุดด้อยของความสามารถในการปฏิบัติงานของตน ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรและสามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของของหน่วยงาน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)


การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
********************************************************************
นายคมกฤษณ์  สุขะวิพัฒน์ 
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************
     ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์   สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา นอกจากนี้แล้วในมาตรา 22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community (PLC) โดยที่ PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งหมายถึง Community of Practice (CoP) ในการทำหน้าที่ครูนั่นเอง

ตัวอย่าง LOGBOOK แบบฟอร์ม LOGBOOK


ตัวอย่าง LOGBOOK แบบฟอร์ม LOGBOOK
การบันทึกใน LOGBOOK การเขียน LOGBOOK สำหรับครู

********************************************************************
นายคมกฤษณ์  สุขะวิพัฒน์ 
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************

ปัจจุบันมีการนำชั่วโมง PLC ของครูและบุคลากรทางการศึกษา มาผูกติดกับการนับชั่วโมงการพัฒนาตนเองของครู เพื่อใช้ในการคงวิทยฐานะ หรือการขอเลื่อนวิทยฐานะครู โดยในการ PLC ของครูที่จะนับเป็นชั่วโมงได้นั้น ครูต้องมีการบันทึกการพบปะพูดคุยกันลงใน Logbook, Logbook จึงกลายมาเป็นคำศัพท์ใหม่ และเครื่องมือใหม่สำหรับครู ว่าจะมีรูปแบบหรือแบบฟอร์มอย่างไร

Logbook คืออะไร
– Logbook, สมุดปูมเรือ เป็นสมุดสำหรับบันทึกเหตุการณ์ และรายละเอียดต่าง ๆ ในการเดินเรือไว้ ตามลำดับเวลา
– Logbook, สมุดบันทึกการเดินทางตามช่วงเวลา
– Logbook มีการใช้หลายวงการ เป็นสมุดบันทึกของการทำงาน การผลิตสินค้า การทำโปรเจคของนักศึกษา เป็นต้น

สรุปคร่าวๆ ได้ว่า Logbook สำหรับ PLC คือ สมุดบันทึกการพัฒนาตนเองจากการทำ PLC ของครู ซึ่งเป็นเอกสารเชิงประจักษ์ในการพัฒนาตนเองของครูผ่านการพบปะ พูดคุย (โสเหล่, ภาษาอีสาน) กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน นั่นเอง (นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข, 22 กรกฎาคม 2560)

นวัตกรรม PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ


นวัตกรรม PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร
นักเรียนนักการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียน
********************************************************************
นายคมกฤษณ์  สุขะวิพัฒน์ 
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************

          สาระสำคัญ : ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community หมายถึง การร่วมมือ ร่วมใจกันของครู ผู้บริหารโรงเรียน และหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการวางแผน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม หรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียน
ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา นอกจากนี้แล้วในมาตรา 22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community (PLC)

โครงการขับเคลืี่อนกระบวนการ PLC (Profestional Learning Community)" ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC" ณ หอประชุมพระเทพวงศาจารย์(ริมน้ำ) วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

          วันที่ 16 มิถุนายน 2561 ได้รับเกียรติจากวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี 
โดย ท่าน ดร.เรืองแสง ห้าสกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ประธานพิธีเปิดการจัดการอบรมโครงการขับเคลืี่อนกระบวนการ PLC (Profestional Learning Community)" ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC" ให้กับคณะครู วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี วิทยากรโดย นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ณ หอประชุมพระเทพวงศาจารย์(ริมน้ำ) วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี





มุทิตาจิตคณะกรรมการติดตามและผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค)

               วันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 17.00 น. 
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมการติดตามและผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา(ส่วนภูมิภาค) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกันมุทิตาจิต แด่ นางชลธิชา พยัคพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ นายวิชัย จิตมาลีรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
มุทิตา กษิณาลัย ร้อยดวงจิต
มวลหมู่มิตร รักแฟนเพลง ท่านทั้งหลาย

เรามาพร้อม ความรักมอบ กรอปใจกาย

เพียรตั้งไว้ ความดีงาม "ชลธิชา มิตร วิชัย"

มาลัยกร พวงน้อย ร้อยความรัก
ที่ประจักษ์ คุณความดี ที่เคยก่อ
เร่งสานต่อ เนื่องเชื่อมโยง โครงทั้งหลาย
พิจคนึงถึง "ชลธิชาแอนด์วิชัย" มิเสื่อมคลาย
ไม่เลื่อนหาย รักมั่นคง จงยั่งยืน...





โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2561
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา(ในส่วนภูมิภาค) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ติดตามความกว้าหน้าโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมฯ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเป็นฐานในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการฯ ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมบรรยายพิเศษ“การทลายไซโลความคิดที่ปิดกั้นด้านการศึกษา”เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


จัดเตรียมความพร้อมของเวที นิทรรศการหลักสูตรฯ และตบแต่งเวที การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมฯ ณ โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

               วันที่ 27 มิถุนายน 2561 
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี จัดเตรียมความพร้อมของเวที นิทรรศการหลักสูตรฯ และตบแต่งเวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมสีมาธานี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา



โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคกลางและภาคตะวันออก

               ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2561
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคกลางและภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา-ตราด กรุงเทพมหานครฯ วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ติดตามความกว้าหน้าโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมฯ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเป็นฐานในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก ท่าน ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมบรรยายพิเศษ “การทลายไซโลความคิดที่ปิดกั้นด้านการศึกษา” เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคใต้

               ระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2561
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมดีวานาพลาซา ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ติดตามความกว้าหน้าโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมฯ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเป็นฐานในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการฯ ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมบรรยายพิเศษ “การทลายไซโลความคิดที่ปิดกั้นด้านการศึกษา”เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ



โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคเหนือ

               ระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน 2561
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ในส่วนภูมิภาค) ภาคเหนือ ตามหนังสือเชิญสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ติดตามความกว้าหน้าโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมฯ 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลเป็นฐานในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของโครงการฯ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามโครงการฯ ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมบรรยายพิเศษ “การทลายไซโลความคิดที่ปิดกั้นด้านการศึกษา”เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ



การตรวจเยี่ยม ติดตาม และประเมินความพร้อมของสถานศึกษาจังหวัดราชบุรี ในวันเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

                วันอังคาร ที่ 5 มิถุนายน 2561
คณะศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี นำโดยแม่ทัพการศึกษาจังหวัดราชบุรี ท่านศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ว่าที่ร้อยเอกวิสาร ปัญญชุณห์ พร้อมด้วยคณะศึกษานิเทศก์ ประกอบด้วย 1) ศน.พันธ์ประภา พูนสิน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 2) ศน.เชาวนีย์ สายสุดใจ 3) ศน.ศริวรรณ ลี้กิจเจริญผล 4) ศน.คมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ 5) ศน.กุลจิรา วาณิชย์ 6) ศน.อรจิรา สุวรรณมาลี ซึ่งมีคุณพ่อบาทหลวง ดร.จำเนียร จิตเสรีวงศ์ อธิการ / ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณาราชบุรี ให้การต้อนรับพร้อมคณะผู้บริหาร ในการตรวจเยี่ยม ติดตาม และประเมินความพร้อมของสถานศึกษาจังหวัดราชบุรี ในวันเปิดภาคเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เพื่อให้การบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) โรงเรียนดรุณาราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี 2) โรงเรียนดรุณาวิเทศศึกษาราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ


การประชุมบริหารบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี วันอังคาร ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมขั้น 5 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี

วันอังคาร ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 น. นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี เข้าร่วมการประชุมบริหาร...