นวัตกรรม PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร
นักเรียนนักการศึกษา
เพื่อพัฒนาผู้เรียน
********************************************************************
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์
ศึกษานิเทศก์
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************
สาระสำคัญ :
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional
Learning Community หมายถึง การร่วมมือ ร่วมใจกันของครู
ผู้บริหารโรงเรียน และหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
พัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการวางแผน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม
หรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียน
ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า
ในแต่ละชั้นเรียนจะมีนักเรียนที่มีความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน
ดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 10
ที่ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ
หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส
ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง
ให้จัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
นอกจากนี้แล้วในมาตรา 22 ยังระบุถึงหลักการจัดการศึกษาว่า
ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ต้องจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ครูทุกคนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาวิธีการที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ซึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ครูจะต้องทราบคือ Professional Learning Community
(PLC)
PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community ซึ่งหมายถึง Community of Practice (CoP) ในการทำหน้าที่ครูนั่นเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
เป็นการรวมตัวกันทำงานไปพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ไป
โดยรวมตัวกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ตรง
ทำให้การทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์เป็นการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม
ซึ่งอาจเป็นทีมในโรงเรียนเดียวกันก็ได้ ต่างโรงเรียนกันก็ได้
หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน ICT
ทำไมต้อง
PLC
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
( Professional
Learning Community: PLC) ซึ่งมีที่มาจากทฤษฎีพหุปัญญาของ Gardner
ที่ได้กล่าวถึง ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ ว่า “How
students learn in a holistic & natural way” (Gardner, 1983) ซึ่งหมายความว่า
นักเรียนเรียนรู้ในวิถีทางที่เป็นองค์รวมและธรรมชาติอย่างไร นอกจากนี้แล้ว
สติปัญญาของนักเรียนถูกเปิดไว้เพื่อการเรียนรู้และครูต้องพัฒนาโอกาสที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนได้สืบเสาะและคิด
Carol,
A. Tomlinson เขียนหนังสือ “How to Differentiated
Instruction in Mixed Ability Classroom” ในปี 1995 ซึ่งเน้นเกี่ยวกับการใช้ Differentiated Instruction ในชั้นเรียนที่มีความสามารถหลากหลาย
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
Learning Community: PLC) มาจากไหน
Rosenholtz
(1989) ได้ทำการวิจัยพบว่า “ครูที่มีความรู้สึกว่า
ตนเองมีความสามารถมักจะปรับปรุงตนเอง ยอมรับพฤติกรรมใหม่ๆ
และพยายามพัฒนาวิชาชีพของตนเอง”Darling-Hammond &Bransford (2005) ได้พยายามพัฒนามาตรฐานระดับชาติของครูที่สะท้อนผลถึงสิ่งที่ครูต้องการในการสอนนักเรียนที่มีความหลากหลาย
งานวิจัยของพวกเขามีจุดเน้นที่ “the better we know our students, the
quicker we can intervene in their learning” นั่นคือ
ถ้าครูยิ่งรู้จักนักเรียนของตนเองดีเท่าไร
ก็ยิ่งสามารถช่วยนักเรียนในการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว
ในงานวิจัยยังเน้น ว่า
นักเรียนที่ครูต้องรู้จักมีความต้องการครูที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning
Communicaty:PLC) คืออะไร
PLCมาจากทฤษฎีที่กล่าวถึง นักการศึกษาที่ชอบคิด
ที่มีความต้องการแลกเปลี่ยนความเชื่อทั่วไปเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้ด้วยกันที่ไม่ใช่แค่การพัฒนาวิชาชีพเท่านั้น
แต่ยังต้องการให้นักเรียนประสบผลสำเร็จ
สรุปองค์ประกอบของ PLC ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ ความเชื่อ และค่านิยม (Vision,
Beliefs & Values)
2. ความเป็นผู้นำ (Leadership)
3. การชี้นำ (Leading)
4. สิ่งแวดล้อมเชิงบวก (Positive Environment)
5. การปฏิบัติส่วนบุคคล (Personal Practice)
จะเริ่มต้นและใช้ PLC อย่างไร/อย่างไร
“สถานศึกษาควรเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับครูและนักเรียน”โดยเฉพาะ ในศตวรรษที่ 21”
1. กำหนดความต้องการของโรงเรียนและความพร้อมในการเลี่ยนแปลง
(ระบุสิ่งที่ขัดขวาง/อุปสรรค)
2. หาคนมาแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ โดยเริ่มต้นจากการแลกเปลี่ยนแนวคิด
3. กำหนดกรอบ
4. พิจารณาจุดที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆ (เช่น
เริ่มต้นจากบางสิ่งบางอย่างที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก เช่น
การประดับตกแต่งห้องโถง หรือทางเดินหน้าโรงเรียน)
กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ PLCs อย่างยั่งยืน
1. เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่ายๆ (Take a baby steps) โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ
เพื่อกำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้
1.1 หลักการอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ
1.2 เราจะเริ่มต้นความรู้ใหม่อย่างไร
1.3
การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ
2. การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively)สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
3. การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high
expectations) และวิเคราะห์การสอนสืบเสาะหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด
3.1
ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว
(Long-term)
3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะ โดยเน้นการนำไปใช้ในชั้นเรียน
3.3
ให้เวลาสำหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ
4. เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small) เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยปรับขยาย
5. ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data)ตรวจสอบผลการนำไปใช้และการสะท้อนผลเพื่อนำมากำหนดว่า แผนไหน
ควรใช้ต่อไป/แผนไหนควรปรับปรุงหรือยกเลิก
6.วางแผนเพื่อความสำเร็จ (Plan for success)เรียนรู้จากอดีต ปรับปรุงหรือปฏิเสธในสิ่งที่ไม่สำเร็จ และทำต่อไป
ความสำเร็จในอนาคต หรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับเจตคติและพฤติกรรมของครู
7. นำสู่สาธารณะ (Go public)แผนไหนที่สำเร็จก็จะมีการเชิญชวนให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม
ยกย่องและแลกเปลี่ยนความสำเร็จ
8. ฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมอง (Exercise the
body & nourish the brain)จัดกิจกรรมที่ได้มีการเคลื่อนไหวและ
เตรียมครูที่ทำงานสำเร็จของแต่ละกลุ่มโดยมีการจัดอาหาร เครื่องดื่มที่มีประโยชน์
สรุป
PLC มุ่งเน้นที่การปฏิบัติการสอนและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ประเภทของ PLC แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้
1. พันธมิตรครู (Teacher partnership) เน้น
การปรับปรุงยุทธศาสตร์การสอนที่เฉพาะเจาะจง
2. ทีมตามระดับชั้นเรียน (Grade-level teams) เน้นการร่วมมือในการวางแผนและการสอน
3. ทีมตามสาระการเรียนรู้ (Content-area teams) เน้นการปรับปรุงหลักสูตร
4. ทีมระหว่างหลักสูตร (Vertical teams) เน้นการจัดเตรียมความคาดหวังและประสบการณ์ของนักเรียน
5. ทีมทั้งโรงเรียน (Whole school) เน้น นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้
6. ทีมระหว่างเขตพื้นที่ (Cross district) เน้น ประเด็นของการปฏิบัติและความเท่าเทียมกัน
เอกสารอ้างอิง
Stoehr, J., Banks, M., & Allen, L. (2011). PLCs,
DI, & RTI: A Tapestry for school change. Thousand Oakes, California:
Crowin.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น