ตัวอย่าง LOGBOOK แบบฟอร์ม LOGBOOK
การบันทึกใน LOGBOOK การเขียน LOGBOOK สำหรับครู
********************************************************************
นายคมกฤษณ์ สุขะวิพัฒน์
ศึกษานิเทศก์
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
********************************************************************
ปัจจุบันมีการนำชั่วโมง PLC ของครูและบุคลากรทางการศึกษา มาผูกติดกับการนับชั่วโมงการพัฒนาตนเองของครู
เพื่อใช้ในการคงวิทยฐานะ หรือการขอเลื่อนวิทยฐานะครู โดยในการ PLC ของครูที่จะนับเป็นชั่วโมงได้นั้น ครูต้องมีการบันทึกการพบปะพูดคุยกันลงใน
Logbook, Logbook จึงกลายมาเป็นคำศัพท์ใหม่
และเครื่องมือใหม่สำหรับครู ว่าจะมีรูปแบบหรือแบบฟอร์มอย่างไร
Logbook
คืออะไร
–
Logbook, สมุดปูมเรือ เป็นสมุดสำหรับบันทึกเหตุการณ์ และรายละเอียดต่าง
ๆ ในการเดินเรือไว้ ตามลำดับเวลา
–
Logbook, สมุดบันทึกการเดินทางตามช่วงเวลา
–
Logbook มีการใช้หลายวงการ เป็นสมุดบันทึกของการทำงาน การผลิตสินค้า
การทำโปรเจคของนักศึกษา เป็นต้น
สรุปคร่าวๆ ได้ว่า Logbook สำหรับ PLC
คือ สมุดบันทึกการพัฒนาตนเองจากการทำ PLC ของครู
ซึ่งเป็นเอกสารเชิงประจักษ์ในการพัฒนาตนเองของครูผ่านการพบปะ พูดคุย (โสเหล่,
ภาษาอีสาน) กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
นั่นเอง (นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข, 22 กรกฎาคม 2560)
องค์ประกอบของ Logbook
ในความเป็นจริงนั้น Logbook ไม่มีรูปแบบตายตัว
อาจเป็นความเรียง หรือ ตารางก็ได้ แต่ต้องมีองค์ประกอบครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.
วันที่ เวลา….ถึงเวลา…………. สถานที่ …………
2.
ประเด็นหรือหัวข้อ PLC (ทำอะไร เพื่ออะไร
เป้าหมายคืออะไร)
3.
รายละเอียดโดยย่อของกิจกรรมที่ทำ (เขียนให้เห็นกระบวนการที่ทำ ทำอย่างไร)
4.
บันทึกผลการเรียนรู้ และจะนำไปใช้ (พัฒนาผู้เรียน) อย่างไร
5.
ความรู้สึกหรือความประทับใจจากการ PLC ครั้งนี้
6.
การลงนามรับรองของผู้บังคับบัญชาในองค์กร
หมายเหตุ
: ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องใส่ใจและจัดให้ครูได้มีชั่วโมง PLC มีการจัดทำ Logbook และลงนามใน Logbook ให้กับครู เพื่อเป็นหลักฐานการนับชั่วโมงการพัฒนาตนเองของครู
ซึ่งจะมีผลเมื่อใช้ตรวจสอบนับชั่วโมงตามเงื่อนไขการทำวิทยฐานะและคงวิทยฐานะ
เมื่อครบ 5 ปี
แหล่งอ้างอิง
ภาพประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น